ถ้าคุณเป็นผู้ใช้ลินุกซ์ตระกูล Debian มาก่อน คุณจะคุ้นเคยวิธีการติดตั้งแพกเกจแบบคอมมานด์ไลน์ด้วยคำสั่ง apt-get แต่สำหรับคำสั่ง apt ถือว่าเป็นทางเลือกการติดตั้งแพกเกจอีกวิธีหนึ่งที่ทาง Ubuntu สนับสนุนและให้ใช้แทน apt-get (รุ่นดั้งเดิม) apt เวอร์ชั่นแรกๆได้ถูกเผยแพร่ในปี 2014 แบบเงียบๆ และเริ่มมีการกล่าวถึงแบบจริงจังใน Ubuntu รุ่น 16.04
เมื่อมีเวลาเล่นลินุกซ์แล้วพบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยก็จะเขียนโน๊ตเก็บไว้ ใช้เขียนโพสต์ในภายหลัง วันนี้ว่างก็ขอเขียนโพสต์ให้เว็บเคลื่อนไหวหน่อย 😛 ขอแนะนำการติดตั้ง Wine(ต้นน้ำ) รุ่น stable ลงลินุกซ์สายพันธุ์ Ubuntu ดิสโทรอื่นๆก็เทียบเคียงดูเอาคงจะคล้ายๆกัน
รีลิส KDE-neon 20.04 Prompt Edition ซึ่งต้นทาง(KDE-neon)รีลิสเป็นทางการเมื่อเดือนสิงหาคม ผู้เขียนก็ลองทดสอบมาซักระยะเวลาหนึ่ง คิดว่าถึงเวลาที่จะรีลิส LTS รุ่น Prompt Edition เสียที รุ่นนี้จะเป็นการอัพเดตแพกเกจให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน (18 กย.63) สำหรับการรีลิสนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
หลังจากอัพเดต KDE-neon 5.17 (Prompt) เมื่อสิ้นปีที่แล้ว ซึ่งได้ติดตั้ง Wine 4 เพิ่มเข้าไปด้วย (Wine คือแพกเกจช่วยให้โปรแกรมวินโดว์ส สามารถใช้งานได้บนลินุกซ์) ได้ลองทดสอบโปรแกรม Line PC (ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้งานไม่ได้กับลินุกซ์ต้องหันพึ่งบริการของ Chrome brower) ปรากฏว่าติดตั้งและใช้งานค่อนข้างสมบูรณ์ทีเดียว …
ได้รีลิส KDE-neon 5.16 Prompt Edition มาซักระยะเวลาหนึ่ง (4 เดือน) ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอัพเดต Kernel และ Packages ใหม่จำนวนมาก คิดว่าถึงเวลาที่จะรีลิส นีออน (ฉบับพร้อมใช้) รุ่น KDE-neon 5.17 Prompt Editon เสียที
รุ่นนี้จะเป็นการอัพเกรดเคอเนลและแพกเกจให้ทันสมัยเป็นปัจจุบัน (ใครที่ใช้รุ่นเดิมอยู่ 5.16 ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งใหม่) สำหรับการอัพเดตเปลี่ยนแปลงหลักๆมีดังนี้
คุณดานุ นุห์ (gimp thailand) ได้แนะนำ Brave browser ไม่กี่วันก่อน ผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจนัก “คิดว่างั้นๆ” 2-3 วันนี้มีโฆษณา Brave ให้เห็นในเพจเฟซบุ๊คประมาณว่า เป็นบราวเซอร์ที่ดีที่สุดในขณะนี้(พ่อทุกสถาบัน) เอ้า! ลองดูดิ๊ โม้ป่าว ติดตั้งเสร็จลองใช้งานดู วันนี้ลินุกซ์ผมโหดมาก ลินุกซ์ neon pe ที่อยู่บน usb handy drive และ รันบนเครื่อง Intel P4 duo core แรม 2gb
Kubuntu เป็นดิสโทรย่อยของดิสโทรหลัก Ubuntu โดยใช้ KDE เป็นดิสเพลย์แมนเนเจอร์หลัก และแต่งตั้ง Jonathan Riddell เป็นผู้จัดการดูแลโครงการ Kubuntu มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของ Ubuntu ระยะหลังๆมีข่าวปัญหาระหองระแหงกันบ่อย จนในเดือนตุลาคม 2015 Jonathan Riddell ได้ตัดสินใจลาออก ในเวลาต่อมาที่การประชุมสัมนา FOSDEM 2016 (ที่ประชุมของเหล่าผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และชุมชนโอเพนซอร์ส) Jonathan Riddell ได้ปรากฎตัวบนเวทีสัมนาดังกล่าว และประกาศโครงการของชุมชน KDE ที่เขาดูแลใหม่ โดยมีชื่อโครงการคือ KDE neon จากนั้นได้มีการเผยแพร่ดิสโทร KDE neon รุ่นแรก โดยดิสโทรแรกนั้นมีโครงสร้างพื้นฐานจาก Ubuntu 15.10 พอในรุ่นถัดมาเป็น 16.04 LTS (Long Term support) ก็ได้ประกาศต่อสาธารณะว่า KDE neon รุ่นต่อๆไปจะยึดฐานพัฒนาจาก Ubuntu เฉพาะรุ่น LTS เท่านั้น
โปรแกรมบริหารจัดการสื่อเก็บข้อมูลแพลตฟอร์มวินโดว์ส สามารถติดตั้งโอเอสตั้งแต่ XP จนถึง Win10(ปัจจุบัน) เป็นโปรแกรมประเภทฟรีแวร์ (จ่ายเงินเพิ่มในกรณีต้องการความสามารถพิเศษ) ที่นำมาแนะนำก็เพราะว่าเป็นโปรแกรมที่สามารถมองเห็นพาร์ติชั่นลินุกซ์ ทำให้เรามีทางเลือกเพิ่มเติมอื่น เพราะโปรแกรมเฉพาะทางลักษณะนี้ หาได้ยากมากสำหรับกับโปรแกรมลินุกซ์ …
Cloud Storage มีหลากหลายทั้งฟรีและไม่ฟรี ผู้เขียนขออนุญาตเจาะจงไปที่ Google Drive ซึ่งส่วนตัวใช้อยู่ประจำ และยังประยุกต์ใช้งานตัวนี้กับงานบริษัท เช่นใช้เป็นพื้นที่กลางสำหรับบริษัทในเครือในการแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลระหว่างบริษัทฯ การเข้าถึงแฟ้มต่างๆใช้งานผ่านซิงค์โฟลเดอร์ (ไม่ผ่านบราวเซอร์อินเตอร์เน็ต) ซึ่งกูเกิลได้จัดทำโปรแกรมไว้ให้ (Google Drive Client) สำหรับแพลตฟอร์มโอเอสต่างๆ เช่น Android, Windows, Mac OS สำหรับลินุกซ์ไม่มี จบนะ …
เมื่อ 29 พฤษภาคม 2562 โปรแกรมKrita ได้รีลิสรุ่นล่าสุด มีการปรับปรุงเพิ่มเติมครั้งใหญ่ มากกว่า 1,000 รายการ ดูจากผลงานแล้วค่อนข้างใกล้เคียงโปรแกรมมืออาชีพ เช่น Corel Painter, Adobe illustrator ,และ Paint Tool sai เราจะไม่เทียบกับโปรแกรมตกแต่งภาพเช่น Gimp หรือ Photoshop ถึงจะดูคล้ายกันแต่จุดประสงค์โปรแกรมแตกต่างกัน โปรแกรม Krita มีวัตถุประสงค์เพื่อจิตรกรดิจิตอลเป็นหลักมากกว่า …