ความแตกต่างระหว่าง apt และ apt-get


ถ้าคุณเป็นผู้ใช้ลินุกซ์ตระกูล Debian มาก่อน คุณจะคุ้นเคยวิธีการติดตั้งแพกเกจแบบคอมมานด์ไลน์ด้วยคำสั่ง apt-get แต่สำหรับคำสั่ง apt ถือว่าเป็นทางเลือกการติดตั้งแพกเกจอีกวิธีหนึ่งที่ทาง Ubuntu สนับสนุนและให้ใช้แทน apt-get (รุ่นดั้งเดิม) apt เวอร์ชั่นแรกๆได้ถูกเผยแพร่ในปี 2014 แบบเงียบๆ และเริ่มมีการกล่าวถึงแบบจริงจังใน Ubuntu รุ่น 16.04

อาจสงสัยว่า apt-get และ apt ต่างกันอย่างไร? เพราะหากดูโครงสร้างคำสั่งที่คล้ายกัน (ยังมี aptitude อีกคำสั่งที่คล้ายกันแต่จะไม่กล่าวถึง) คำสั่ง apt-get พูดตรงๆว่ามีความสามารถมากกว่า apt แต่ความสามารถมากกว่าก็ทำให้ผู้ใช้สับสนได้ เช่นฟังค์ชั่นเสริม apt-cache ดังนั้นผู้พัฒนา apt จึงสร้างขึ้นมาก็เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้ทั่วไป เช่น คำสั่งสั้นกระชับ มีเฉพาะคำสั่งที่ใช้บ่อยๆในการใช้งานประจำ มีการแสดงความคืบหน้าของกระบวนติดตั้งให้เห็นอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม Debian ไม่มีแผนที่จะเลิกใช้คำสั่ง apt-get หรือ apt-cache เนื่องจากทั้งสองอย่างมีความสำคัญในการสร้างแพ็คเกจของระบบ เพียงแต่คำสั่ง apt ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เป็นมิตรมากกว่า ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยและดูน่าสนใจกว่า

ตารางคำสั่งที่แตกต่างระหว่าง apt และ apt-get



ตัวอย่างการติดตั้งแพกเกจด้วยคำสั่ง apt-get


ตัวอย่างการติดตั้งแพกเกจด้วยคำสั่ง apt


คำสั่งประจำวันที่ผู้เขียนใช้บ่อยๆ

คำสั่งอัพเดตฐานแพกเกจให้เป็นปัจจุบัน
sudo apt update

คำสั่งอัพเกรดแพกเกจและแพกเกจที่เกี่ยวพันทั้งหมด (นอกจากติดตั้งแพกเกจให้เรียบร้อย จะตามลบ deb ดังกล่าวออกจากแคชระบบ โดยไม่ต้องคอยใช้คำสั่ง apt clean ในภายหลัง)
sudo apt full-upgrade

คำสั่งลบแพกเกจ (กำพร้า)(ไม่มีการใช้งาน) รวมถึงการลบค่าคอนฟิกต่างๆของโปรแกรม
sudo apt –purge autoremove

Facebook Comments